ประเภทของคอมเพรสเซอร์ อุปกรณ์ที่สำคัญของระบบทำความเย็น

       หากพูดถึงคอมเพรสเซอร์ นับได้ว่าคอมเพรสเซอร์เป็นหัวใจที่สำคัญอย่างมากสำหรับเครื่องปรับอากาศ ระบบทำความเย็นต่างๆ โดยคอมเพรสเซอร์จะมีหน้าที่อัดฉีดสารความเย็นสถานะแก๊สให้เข้าสู่ระบบทำงาน ซึ่งการทำงานของคอมเพรสเซอร์เองมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งาน

ประเภทของคอมเพรสเซอร์
คอมเพรสเซอร์หรือเครื่องอัดแก๊สสารทำความเย็นที่ใช้มากมี 3 ประเภทคือ

- คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)

         คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบมีหน้าที่และการระบบการทำงาน คือ การดูดและอัดน้ำยาในสถานะที่เป็นแก๊ส โดยดูดน้ำยาที่อยู๋ในสถานะความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำจาก อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) หรือ คอยล์เย็น เข้ามาอัดตัวให้เป็นแก๊สที่มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง แล้วถึงส่งไปยังคอนเดนเซอร์ต่อไป การทำงานหลักๆ คือ ในแต่ละกระบอกสูบจะประกอบด้วยชุดของลิ้นทางดูดและลิ้นทางอัด ซึ่งติดอยู่กับวาล์วเพลต ขณะที่ลูกสูบหนึ่งเคลื่อนที่ลงในจังหวะดูด อีกลูกสูบหนึ่งจะเคลื่อนที่ในจังหวะอัด


- คอมเพรสเซอร์แบบแรงหมุน (Rotary Compressor)

          คอมเพรสเซอร์แบบแรงหมุนหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่นั้น จะดูดและอัดน้ำยาในสถานะแก๊ส โดยอาศัยการกวาดตัวตามแกนโรเตอร์ (rotor) เนื่องจากคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่นี้มีขีดจำกัดในการทำงาน คือจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง กินไฟน้อย จะต้องใช้กับเครื่องปรับอากาศขนาดความเย็นไม่เกิน 1-3 ตัน แต่ถ้าขนาดความเย็นใหญ่กว่านี้อาจจะทำงานได้ไม่ดีนัก 
คอมเพรสเซอร์แบบแรงหมุนสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิด คือ 
1. คอมเพรสเซอร์โรตารี่แบบลูกสูบหมุน 
2. คอมเพรสเซอร์โรตารี่แบบใบพัดหมุน 

 

- คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal Compressor)

         คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ใช้ได้ดีกับระบบเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ที่มีการใช้ตั้งแต่ 50 ตันขึ้นไป คอมเพรสเซอร์ชนิดนี้มีโครงสร้างเป็นแบบใบพัด และมีการดูดอัดน้ำยาแอร์ในสถานะที่เป็นแก๊สให้มีความดันสูง โดยไม่ต้องใช้ประกอบแบบคอมเพรสเซอร์อื่นๆ ระบบการทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ไม่ต้องอาศัยลูกสูบแต่เป้นการเพิ่มความดันของน้ำยาแอร์โดยใช้แรงเหวี่ยง ฉะนั้นการทำงานจึงต้องอาศัยความเร็วรอบในการเหวี่ยงที่สูง เพื่อให้ได้ความดันที่สูงขึ้น